ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: "ทำความรู้จักกับตู้ไฟหรือคอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit)"  (อ่าน 771 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 464
  • รับโปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) หรือตู้ไฟ เป็นตู้ที่ใช้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมการจ่ายไฟฟ้าจากมิเตอร์สู่บ้านหรืออาคารพาณิชย์ ถือเป็นศูนย์รวมของระบบไฟฟ้าเพราะเป็นตัวเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านและอาคาร ในตู้ไฟจะประกอบด้วยเมนเบรกเกอร์ (Main Breaker) ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟเข้า-ออกทั้งหมด เบรกเกอร์ย่อย (Circuit Breakers) สำหรับควบคุมวงจรย่อย และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด ไฟเกิน ไฟช็อต RCD (Residual Current Devices) / RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) หรืออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ช่วยให้สะดวกต่อการควบคุมและป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เช่น ไฟรั่ว ไฟช็อต ไปจนถึงเพลิงไหม้ รวมถึงใช้เป็นจุดสำหรับตรวจบำรุงและตรวจสอบระบบการทำงานเพื่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัยและผู้ใช้งาน


ประเภทของตู้ไฟ Consumer Unit และการติดตั้ง


ตู้ไฟที่ใช้งานทั่วไปในท้องตลาดจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบปลั๊กออน (Plug-on) และแบบเดินรางหรือแบบรางปีกนก (Din-Rail)

   
1. แบบปลั๊กออน (Plug-on)
    เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อยแต่ละตัว เพียงนำเบรกเกอร์ไปติดที่บัสบาร์ (Busbar) ซึ่งจะมีติดตั้งอยู่ในตู้เรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องแบบปลั๊กออนอาจมีราคาสูงแต่ก็ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูเรียบร้อยกว่าแบบ Din Rail และในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น ขาหนีบของเบรกเกอร์จะถูกสนามแม่เหล็กนำให้ยึดเกาะแท่งบัสบาร์ให้แน่นยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดไฟอาร์คหรือประกายไฟที่อาจนำไปสู่ไฟไหม้

   
2. แบบรางปีกนก (Din-Rail)
    ตู้ไฟแบบรางปีกนก ติดตั้งโดยการใช้สายไฟเชื่อมต่อเบรกเกอร์ยึดกับรางเหล็ก แล้วเดินสายจากเมนเบรกเกอร์ไปที่เบรกเกอร์ลูกย่อยแต่ละตัวจนครบ ซึ่งจะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมากกว่าแบบปลั๊กออน แต่ในขณะเดียวกันราคาตัวเครื่องและออพชั่นเสริมจะมีราคาถูกกว่า รวมถึงมีความทนทานและมีอายุการใช้งานมากกว่าเช่นกัน ขั้นตอนที่สำคัญคือการเดินสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูด


ข้อควรพิจารณาในการเลือกตู้ไฟ Consumer Unit

ตู้ไฟ Consumer Unit จะมีช่องสำหรับติดตั้งเบรคเกอร์วงจรย่อยที่ใช้เดินสายไฟในบ้าน โดยทั่วไปจะมีจำนวนช่องให้เลือกตั้งแต่ขนาด 4 ช่อง ไปจนถึง 20 ช่อง ขึ้นอยู่กับรุ่นและแบรนด์ แต่ละช่องจะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทั้งแบบชิ้นเดียวเช่นแอร์ หรือหลายชิ้นเช่น หลอดไฟ ปลั๊กไฟ ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร แต่ไม่ควรต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟมากเข้าช่องเดียวกัน และควรเผื่อช่องสำหรับติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมไว้ด้วย (โดยทั่วไปจะเผื่อไว้ 2-3 ช่อง)


คุณภาพและความน่าเชื่อถือของแบรนด์

อีกข้อสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อตู้ไฟ Consumer Unit คือความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ควรเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยตลอดการใช้งาน ต้องมีมาตรฐาน มอก.และมาตรฐานสากล IEC และควรเลือกตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตที่แข็งแรง มีความทนทาน และที่สำคัญต้องไม่เป็นวัสดุลามไฟหรือเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้ควรเลือกใช้ตู้พลาสติกชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า




บริหารจัดการอาคาร: "ทำความรู้จักกับตู้ไฟหรือคอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit)" อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/