ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ  (อ่าน 644 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
  • รับโปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
กระชายพลัส: ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ
« เมื่อ: วันที่ 23 พฤษภาคม 2024, 21:13:12 น. »
กระชายพลัส: ฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ

ตื่นเช้าขึ้นมาพบว่า โอ้!! อากาศประเทศไทยเย็นแล้วเหรอนี่ หมอกหนาเต็มไปหมดเลย… อย่าหลงเข้าใจผิดเด็ดขาดนะทุกคน บางทีอาจจะคือฝุ่น PM 2.5 มลพิษทางอากาศ มักจะเกิดช่วงหน้าหนาว หลายคนเข้าใจผิดเพราะว่าคล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก แต่ที่น่ากลัวกว่าหมอกคือ ฝุ่น PM 2.5 เล็กแต่ร้ายภัยเงียบที่มาโดยไม่รู้ตัว อันตรายถึงชีวิตได้!!


หมอก และ ฝุ่น PM 2.5 แตกต่างกันยังไง

หมอก (Fog) เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำจนกลายเป็นละอองน้ำกระจายอยู่ระดับใกล้พื้นผิวโลก  หมอกทุกชนิดเกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศมีค่าเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ทำให้อากาศเกิดการอิ่มตัว (saturate)  แล้วกลั่นตัว (condense) เป็นละอองน้ำเล็กๆ หมอกจึงเกิดขึ้นจากความเย็นของพื้นผิว หรือการเพิ่มปริมาณไอน้ำในอากาศ หมอกสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ หมอกน้ำค้าง (Mist) , หมอกน้ำแข็ง (Ice fog) , หมอกทะเล (Sea fog) ,  หมอกไอน้ำ (Steam fog) ,  หมอกมรสุม (Monsoon fog) ฯลฯ

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ จากกระบวนการอุตสาหกรรม จากยานพาหนะ จากการเผาทางการเกษตร จากการเผาไฟป่า จากการก่อสร้าง จากการเผาขยะสิ่งปฏิกูลต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมการกระทำของคนทั้งสิ้นที่ทำให้เกิดขึ้น ถือเป็นมลภาวะเป็นพิษทางอากาศที่ทำให้เกิดอันตรายมากที่สุด

ความแตกต่างของหมอกและฝุ่น PM 2.5 ที่ชัดเจนก็คือ เมื่อร่างกายสัมผัส หมอกจะทำให้รู้สึกเย็น มีละอองน้ำเล็กๆ หรือเป็นหยดน้ำ ถ้าบริเวณนั้นมีหมอกหนามากๆ แต่สำหรับฝุ่น เมื่อมีการหายใจเข้าไปจะทำให้รู้สึกหายใจติดขัด จาม ไอ คันคอ กระหายน้ำ บางคนมีผื่นคัน แดงตามผิวหนังได้


ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ฝุ่น PM2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron ฝุ่นละอองในอากาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากๆ ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือไมโครเมตร PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วด้วยขนาดเล็กมากๆที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ จะล่องลอยอยู่ในอากาศ ฝุ่นจะลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานกว่าจะสลายหายไป มักจะอยู่ในรูปแบบ ละอองจากของเหลว เขม่าควัน ฝุ่นควัน


แหล่งกำเนิดของมลพิษและผลกระทบ

ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็น 1 ในสารมลพิษทางอากาศ เมื่อร่างกายได้รับหรือสัมผัส สูดดมเข้าไปร่วมกับสารที่เป็นอันตรายอื่นๆแล้ว จะทำให้มีผลกระทบกับร่างกายโดยตรง ก่อให้เกิดโรคที่มากับฝุ่นที่ล้วนแต่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อได้รับสารนั้นเป็นเวลานานและซ้ำๆกัน สารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่


สารมลพิษทางอากาศ      แหล่งกำเนิดมลพิษ                                               ผลกระทบที่ได้รับ

PM 2.5                       ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือไมโครเมตร              จากการเผาไหม้ป่ามักจะเผาในที่โล่ง การเผาในพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้จากการคมนาคม จากน้ำมันเชื้อเพลิง ดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก กระบวนการทางอุตสาหกรรม เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมี  และเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศ การผลิตไฟฟ้า การก่อสร้าง รวมทั้งการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ด้วย    ทำให้เกิดอาการไอ จาม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งปอด เมื่อร่างกายได้รับการสะสมสารพิษที่ติดมากับฝุ่นละอองเป็นประจำ จะส่งผลให้เป็นอันตราย มีความเสี่ยงต่อชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย



PM 10                         ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน หรือไมโครเมตร                 เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง    มีผลกระทบต่อสุขภาพที่มากไปกว่าระบบทางเดินหายใจปกติ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้เล็กมากพอที่จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านปอดและนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคทางสมองบางประการ
CO คาร์บอนมอนอกไซด์    เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ที่มีสารประกอบคาร์บอนต่างๆ จากยานพาหนะหรือจากธรรมชาติเอง    อาการทั่วไป มึนงง ปวดศรีษะ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่จะเป็นอันตรายแบบเฉียบพลันเมื่อได้รับการสูดดมเข้าไปเป็นจำนวนมากอาจถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ จะทำให้ได้รับความรุนแรงมากกว่าโรคอื่นๆ
O3 ก๊าซโอโซน    เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีความร้อนของแสงแดดที่ทำปฏิกิริยาในบรรยากาศ เร่งปฏิกิริยาให้เกิดก๊าซมากขึ้น    เกิดการระคายเคืองตา เยื่อบุต่างๆ มีผลกระทบการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ปอด และกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การทำงานของส่วนต่างๆทำงานลดลง เหนื่อยง่าย เหนื่อยเร็ว


SO2                            ซัลเฟอร์ไดออกไซด์                                                        เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ที่มีสารกำมะถัน รวมถึง อุตสาหกรรมที่มีสารกำมะถันเป็นส่วนประกอบ ลาวาจากภูเขาไฟ การถลุงแร่โลหะที่มีส่วนผสมของกำมะถัน ละลายในน้ำได้ดีและรวมตัวกับสารอื่นได้ดีอีกด้วย    มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อได้รับสารสะสมและเป็นเวลานาน

 
NO2                               ไนโตรเจนไดออกไซด์                                                     เกิดจากการเผาไหม้ที่มีอุณหภูมิความร้อนที่สูง จากยานพาหนะ และจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศด้วย    มีผลต่อระบบการมองเห็น เกิดอาการเจ็บป่วย กระตุ้นอาการหอบหืด รวมทั้งมีปัญหาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ


ฝุ่น PM 2.5                       ฝุ่น PM 2.5 เยอะช่วงไหน                                                 ฝุ่น PM 2.5 จะเริ่มเกิดช่วงหน้าหนาว ไปจนถึงช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน เป็นช่วงปลายปีของทุกปีที่จะมีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นในช่วงนี้ เนื่องจากความกดอากาศสูง มวลอากาศเย็นแผ่กระจายไปทั่วพื้นดินด้วย จนทำให้ไม่มีช่องว่างให้ฝุ่นที่มีอยู่ในอากาศลอยผ่านไปได้ เมื่อฝุ่นไม่สามารถไหลไปที่อื่นได้ก็จะย้อนกลับลงมาที่พื้นดินอีก เป็นที่มาของช่วงหน้าหนาวที่ฝุ่นจะเยอะเป็นพิเศษ


ฝุ่น PM 2.5                         เครื่องมือวัดฝุ่นและค่าเฝ้าระวัง PM 2.5                                เป็นเครื่องวัดฝุ่นละอองที่ลอยในอากาศ Particle Counter แต่ก่อนที่จะหาเครื่องมือเพื่อมาวัดฝุ่นละอองและสารมลพิษทางอากาศต่างๆนั้น ควรต้องรู้ก่อนว่า การวัดค่าคุณภาพอากาศนั้นต้องดูจากอะไร และค่าแบบไหนที่เป็นมาตรฐานและปลอดภัยต่อร่างกาย


โดยค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

โดยใช้เครื่องมือ AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยสารมลพิษทางอากาศทั้ง 6 ชนิด การวัดค่า AQI และ PM2.5 จะโชว์ตัวเลขและสีในการแบ่งระดับการเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ทราบระดับความรุนแรงและของความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง



ฝุ่นหนาดูแลสุขภาพยังไง

ในแต่ละวันที่ร่างกายต้องออกไปเจอกับฝุ่น สูดดมสารมลพิษทางอากาศต่างๆ สิ่งที่ทุกคนต้องเตรียมคือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง

รวมทั้งการหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ที่ต้องการเสริมภูมิต้านทานโรคต่างๆ ไม่ต้องรอให้ป่วยแล้วจึงหาทางรักษา แต่เราสามารถรับประทานได้เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคได้เลย

เอ็มเมดสาระน่ารู้ขอแนะนำ เอ็มเมดกระชายพลัส เกิดจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำเอาองค์ความรู้ นวัตกรรม งานวิจัยที่จะนำประโยชน์สูงสุดให้กับผู้บริโภค จากงานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตและการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100%