ผู้เขียน หัวข้อ: โรคความดันโลหิตสูง อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา แนวทางป้องกัน  (อ่าน 683 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 434
  • รับโปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
ก่อนจะรู้จักนิยามของภาวะความดันโลหิตสูง มาทำความรู้จัก "ความดันเลือด" (blood pressure หรือ BP) กันก่อน ความดันเลือด คือความดันจากเลือดแดง ซึ่งตรวจพบได้จากการหมุนเวียนของระบบเลือดภายในผนังหลอดเลือด เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงสัญญาณชีพจรว่าร่างกายกำลังทำงาน มีการถ่ายเทออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ความหมายของภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง การที่ค่าความดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งหากค่าความดันโลหิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างต่อร่างกายได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เป็นต้น
ความหมายของความดันเลือด

"ความดันเลือด คือ ความดันที่เกิดขึ้นจากการไหลเวียนของ "เลือดแดง" ภายในร่างกาย ซึ่งจะพาดผ่านเส้นเลือดหัวใจแต่ละเส้น จะมีความดันสูงสุดเมื่อหัวใจบีบตัว และความดันต่ำสุดเมื่อหัวใจคลายตัว

ถ้าเราต้องการตรวจวัดระดับความดันเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ จะตรวจจากความดันเลือดเฉลี่ยในการไหลเวียนเลือดจากการสูบของหัวใจที่มีการบีบและคลายตัว ความดันเฉลี่ยที่พบจึงขึ้นอยู่กับความดันเลือด และความต้านทานภายในหลอดเลือด

ค่าความดันเลือด

 การตรวจวัดความดันโลหิตจะแปลผลได้ 2 ค่า มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ได้แก่

    ค่าความดันซิสโทลิก (Systolic Pressure) คือค่าความดันในเส้นเลือดแดงเมื่อหัวใจบีบตัว
    ค่าความดันไดแอสโทลิก (Diastolic Pressure)) คือค่าความดันในเส้นเลือดแดงช่วงที่หัวใจคลายตัว

ตัวอย่างการบอกค่าความดันเลือด

120/80

ค่า 120 คือความดันซีสโตลิก ส่วนค่า 80 คือความดันไดแอสโตลิก

การวัดความดันจะวัดที่แขนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแขนซ้ายหรือแขนขวา ล้วนให้ค่าความดันเท่ากัน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตรวจพบว่าร่างกายมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นในผนังเลือด หรือหัวใจหรือไม่ หากค่าความดันที่ตรวจวัดได้นั้นไม่ตรงตามค่ามาตรฐาน

อย่างไรก็ตามคนปกติก็สามารถตรวจพบความดันเลือดสูงได้ เช่นในช่วงออกกำลังกาย เป็นไข้ ตื่นเต้น โกรธ หวาดกลัว หรือกินยาบางชนิด ดังนั้นในการตรวจจึงอาจจะต้องวัดซ้ำอีกครั้งในสภาวะปกติเพื่อยืนยันความดันที่แน่นอน
ภาวะความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยเพียงใด?

ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้ว ประชากร 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่หรือประชากรมากกว่า 76 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

อาการของโรค ในระยะแรกผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงจะไม่มีอาการ แต่อาจพบว่ามีความดันเลือดสูงเป็นครั้งคราว เนื่องจากอาการของโรคจะเกิดกับหลอดเลือดในหัวใจ ไต สมอง และตาอย่างช้า ๆ และจะมีไขมันมาเกาะหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น เอออร์ตา หลอดเลือดแดงโคโรนารี เป็นต้น ทำให้ผนังชั้นในตีบแคบ และเลือดที่ต้องไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะลดลง หลอดเลือดอาจฉีกขาดทำให้มีเลือดออก

1. ความดันเลือดสูงปฐมภูมิ หรือความดันเลือดสูงชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (Essential หรือ Primary hypertension) พบมากกว่าร้อยละ 90 เกิดจากเลือดไปปะทะกับผนังของหลอดเลือด

การควบคุมความดันเลือดเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ขึ้นอยู่กับการควบคุมของไตและระบบประสาท โดยไตควบคุมการคั่งของน้ำและโซเดียม ส่วนระบบประสาทควบคุมความตึงตัวของหลอดเลือด ตามปกติ ความดันเลือดในหลอดเลือดแดง (Arterial blood pressure: ABP หรือ BP) จะเกิดจากความต้านทานปลายทางรวมของหลอดเลือด (Total peripheral resistance; TPR) และปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output; CO)

CO จะเพิ่มขึ้นได้ก็ขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที (Heart rate: R) และปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกมาในแต่ละครั้ง (Stroke volume: SV) หรือทั้ง 2 อย่าง

ความต้านทานปลายทางของหลอดเลือดสามารถเพิ่มขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น ขนาดของหลอดเลือด เป็นต้น หากหลอดเลือดหดตัวจะทำให้ความต้านทานของหลอดเลือดสูง หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลผ่านไปได้ ส่งผลให้ความดันเลือดสูงขึ้น

แต่หากหลอดเลือดขยายความต้านทานของหลอดเลือดจะลดลง และความดันเลือดจะลดลงตามไปด้วย ดังสมการ ต่อไปนี้

    BP = CO x TPR
    CO = SV x HR

การหดตัวหรือขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลายจะควบคุมโดยระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System: SNS) และระบบเรนินแองจิโอเทนซิน (renin-angiotensin system: RAS) เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกถูกกระตุ้น จะมีการหลั่งสารแคทีโคลามีน (Catecholamines) เช่น อิพิเนฟริน นอร์อิพิเนฟริน เป็นต้น ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัวมากขึ้น ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและแรงบีบตัวของหัวใจห้องล่างเพิ่มขึ้น

ส่วนระบบเรนินแองจิโอเทนซินนั้น เรนินเป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากไต ซึ่งจะเปลี่ยนแองจีโอเทนซินที่สร้างมาจากตับให้เป็นเองจิโอเทนซิน 1 และจะถูกเปลี่ยนเป็นแองจิโอเทนซิน 2 โดยเอนไซม์ทำให้หลอดเลือดหดตัว และควบคุมการหลั่งอัลโดสเตอโรน หากมีการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก แองจิโอเทนซิน 2 จะยับยั้งการขับโซเดียมออก ซึ่งความดันเลือดจะสูง ส่วนการหลั่งเรนินออกมามากจะทำให้ความต้านทานปลายทางรวมของหลอดเลือดสูงขึ้นจากปอด

2. ความดันเลือดสูงทุติยภูมิ หรือความดันเลือดสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ (secondary hypertension) เกิดจากความผิดปกติหรือโรคบางอย่าง ที่ทำให้มีการหลั่งแคทีโคลามีนและเรนินเพิ่มขึ้น รวมถึงโรคที่ทำให้น้ำ และโซเดียมคั่งในร่างกายมากขึ้น ความผิดปกติที่สำคัญซึ่งมีผลทำให้ความดันเลือดสูง มีดังนี้

   2.1 ความผิดปกติที่ไต เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูงทุติยภูมิมากที่สุด จะพบมากในเด็ก โดยอาการของโรคดังกล่าวจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบเรนินแองจิโอเทนซิน และอัลโดสเตอโรน มีผลทำให้เกิดการคั่งของน้ำและโซเดียมเพิ่มขึ้น เช่น การตีบของหลอดเลือดแดงที่ไต เนื้องอกที่ไต (Wilms' tumor) การอักเสบที่ไต (Glomerulonephritis) เป็นต้น

   2.2 ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ มีดังนี้

    ความผิดปกติของต่อมหมวกไต ทำให้เกิดความดันเลือดสูงทุติยภูมิได้ ซึ่งมาจากการผลิตอัลโดสเตอโรนคอร์ติซอล และแคทีโคลามีนที่มากเกินไป โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไต (Primary aldosterone) ก็ทำให้ความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เนื่องจากส่วนคอร์เท็กซ์ของต่อมหมวกไตจะมีการหลั่งอันโดสเตอโรนออกมามาก ทำให้โซเดียมคั่ง พลาสมามีปริมาตรเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้โรค Cushing’s syndrome ก็ทำให้ความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เนื่องจากคอร์ติซอลที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตในส่วนคอเท็กซ์ทำให้โซเดียมเกิดคั่ง แองจิโอเทนซิน 2 เพิ่มขึ้น และเกิดการตอบสนองของหลอดเลือดต่ออิพิเนฟริน ส่วนโรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตส่วนเมดัลลา (Pheochromocytoma) ทำให้ความดันเลือดสูงชนิดร้ายแรงได้ เพราะมีการหลั่งอิพิเนฟรินและนอร์อิพิเนฟรินออกมามากเกินไป ทำให้หลอดเลือดหดตัว

    ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ เช่น โรคร่างกายสูงใหญ่ไม่สมส่วน (Acromegaly) ทำให้มีอัลโดสเตอโรนมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการคั่งของน้ำและโซเดียม
    ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือมากเกินไป (Hypothyroidism หรือ Hyperthyroidism)
    ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภาวะที่มีเลือดออกในสมอง (Intracranial hemorrhage) ทำให้มีความดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีความดันเลือดสูงขึ้น

   2.3 การใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น Sympathomimetics amines, Glucocorticoids, Cyclosporin, Amphetamine, Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) เอสโตรเจนเป็นต้น

   2.4 การตั้งครรภ์ผิดปกติ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Toxemia of pregnancy)
สาเหตุของโรคความดันเลือดสูง

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน คือ

    เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งโอกาสที่คนในครอบครัวจะเป็นโรคชนิดนี้เป็นไปได้สูงมาก ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคความดันสูงอยู่แล้ว โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิด
    เกิดจากโรคอ้วนหรือร่างกายมีน้ำหนักที่เกินตัว เนื่องจากโรคชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆ จนทำให้เกิดภาวะตีบจากไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดโรคชนิดนี้ขึ้นในร่างกาย จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้ง่าย
    เกิดจากการเป็นโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากโรคชนิดนี้จะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมนที่มีส่วนในการควบคุมความดันโลหิต
    เกิดจากการมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีปริมาณสารพิษอยู่ในควันสูงมาก โดยสารพิษนี้จะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดไต อีกทั้งยังส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจด้วย
    เกิดจากการดื่มสุรา เพราะการดื่มสุราจะส่งผลทำให้หัวใจของคนเราเกิดภาวะเต้นเร็วกว่าปกติ และส่งผลต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุรา
    เกิดจากการทานอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำ เพราะความเค็มที่ร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไป มีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
    เกิดจากการไม่หมั่นออกกำลังกาย เพราะการไม่ออกกำลังกายจะส่งผลต่อการเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานได้ หากเผชิญกับโรคทั้งสองชนิดนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้
    เกิดจากผลข้างเคียงของการทานยา เช่น การทานยาที่อยู่ในกลุ่มสเตียรอยด์


ยาที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูง 

การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการเจ็บป่วยหรือภาวะต่างๆ เช่น ข้ออักเสบ ชัก หรือยารักษาไข้หวัด ภูมิแพ้เหล่านี้สามารถส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และยาดังกล่าวยังสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการรักษาของยาลดอาการความดันโลหิตสูงให้แย่ลงได้ ยาที่มีผลต่อความดันโลหิต ประกอบด้วย

1. สเตียรอยด์ (Corticosteroids) ยาสำหรับลดอาการอักเสบ มักถูกจ่ายเพื่อรักษาภาวะข้ออักเสบ หอบหืด หรือโรคเรื้อรังบางชนิด ตัวอย่างของยาชนิดนี้ได้แก่

    Prednisolone (เพรดนิโซโลน) เช่น Sterapred (สเตอราเพรด)
    Methylprednisolone (เมทิลเพระนิโซโลน) เช่น Medrol (เมอร์ดรอล) Meprolone (เมโพรลีน)
    Dexamethasone (เด้กซาร์เมทาโซน) เช่น Decadron (เดอคารอน)
    Cortisone (คอร์ติโซน)

2. ยารักษาอาการซึมเศร้าชนิดไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants) นอกเหนือจากการใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาอาการซึมเศร้าชนิดไตรไซคลิกมักถูกใช้ในการรักษาโรคไมเกรน (Migraine) และยังเป็นที่รู้กันว่า สามารถเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นได้ ตัวอย่างของยาชนิดนี้ได้แก่

    Desipramine (เดซิพรามีน) เช่น Pertofrane (เพอโตเฟรน) Norpramin (นอร์พรามีน)
    Protriptyline (โปรทริปทีลีน) เช่น Vivactil (วีแวคทีล)
    Amitriptyline (อมิทริปทีลีน) เช่น Elavil (เอลาวิล)
    Endep (เอนเดพ) - Vanatrip (แวนาทริป)
    Nortryptyline (นอร์ทริปทีลีน) เช่น Pamelor (พาเมลอร์) Aventyl (อะเวนทีล) NSAIDS (Non-steroidal anti-inflammatory drugs: ยาเอ็นเสด)

3. ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์โดยการลดการอักเสบ เป็นชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และเป็นยาที่นิยมใช้ในการรักษาข้ออักเสบ รวมไปถึงอาการเจ็บปวดทั่วไป เช่น

    Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) เช่น Motrin (โมทริน) Advil (แอดวิล)
    Naproxen (นาพรอกเซน) เช่น Aleve (แอลีฟ) Naprosyn (นาโพรซิน)
    Aspirin (แอสไพริน)

4. ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ยาชนิดนี้นิยมใช้ในการรักษาไข้หวัดและภูมิแพ้ แต่ก็สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิต และมีผลต่อประสิทธิภาพของยาลดความดันโลหิตได้ด้วย เช่น

    Diphenhydramine (ไดเฟนไฮดรามีน) เช่น Benadryl (เบนาดริล) Unisom (ยูนีซัม) Sominex (โซมีเนกซ์)
    Pseudoephedrine (ซูโดเอฟิดรีน) เช่น Sudafed (ซูดาเฟด) Contac (คอนแทค)
    Phenylephrine (ฟีนิลเอฟรีน) เช่น Sudafed PE (ซูดาเฟด พีอี)

5. ยารักษาโรคไมเกรน ผลข้างเคียงของยารักษาไมเกรนจะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง มักเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เช่น

    Zolmitriptan (โซลมีทริปแทน) เช่น Zomig (โซมิก)
    Isometheptene (ไอโซเมเท้พทีน) เช่น Midrin (มิดริน)
    Ergotamine (เออร์โกตามีน) เช่น Cafergot (คาเฟอร์กอต)
    Dihydroergotamine (ไดไฮโดรเออร์โกตามีน) เช่น Migranal nasal spray (ยารักษาไมเกรนชนิดฉีดพ่นในจมูก)
    Almotriptan (แอลโมทริปแทน) เช่น Axert (แอกเซิร์ท)
    Sumatriptan (ซูมาทริปแทน) เช่น Imitrex (อิมิเทรกซ์)

6. การใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการของภาวะประจำเดือนหมด หรือวัยทอง การใช้ฮอร์โมนสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตส่วนซิสโทลิกให้สูงขึ้นเล็กน้อย หากทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง แต่ต้องการรักษาด้วยฮอร์โมน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงวิธีที่ดีที่สุดในการคุมความดันของโลหิต

นอกจากนี้ยาเสพติดชนิดต่างๆ เช่น โคเคน Ecstasy (เอ็กซ์ตาซี) หรือยาบ้า ก็ทำให้ความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน


ปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง

ปัจจัยดังต่อไปนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

    อายุ: ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้ชายที่อายุมากกว่า 45 ปีและผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี
    เชื้อชาติแอฟริกัน - อเมริกัน: พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเร็วกว่าและรุนแรงกว่า และหากเกิดภาวะแทรกซ้อนจะอันตรายกว่ามาก
    ประวัติครอบครัว: ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะสืบทอดทางพันธุกรรมได้
    ความอ้วน: โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบ และทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้นได้
    พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ: การที่ร่างกายเฉื่อยชา ไม่ได้ออกกำลังกาย มักมีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอัตราการเต้นของหัวใจที่มากขึ้น ซึ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
    การสูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่: สารเคมีในบุหรี่สามารถทำลายผนังหลอดเลือดแดงได้ ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง นำไปสู่ความดันโลหิตที่สูงขึ้น
    การเลือกรับประทานอาหาร: อาหารบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้ เช่น
        อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเข้าไปมากและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว
        อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับของโซเดียมในเซลล์ได้ ทำให้เกิดภาวะโซเดียมเกินในเลือด
        วิตามินดี การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีน้อยไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
        การดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่มากกว่า 170 มิลลิลิตรสำหรับผู้ชาย และ 85 มิลลิลิตรสำหรับผู้หญิง
    ความเครียด: ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวได้
    โรคเรื้อรัง: เช่น โรคไตเรื้อรัง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือโรคเบาหวาน
    การตั้งครรภ์
    การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด


อาการของโรคความดันเลือดสูง

 ผู้ป่วยความดันเลือดสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการมาก่อน บางรายอาจปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล หูอื้อ เวียนศีรษะ เป็นลม แต่จุดสำคัญที่ต้องทราบไว้คือ ผู้ป่วยส่วนมากที่มารับการตรวจแล้วพบว่าความดันเลือดสูงนั้น ไม่มีอาการมาก่อนเลย ดังนั้นการตรวจวัดความดันเลือดจึงเป็นสิ่งควรกระทำ แม้จะไม่มีอาการ อย่างน้อยละปี 2 ครั้ง


จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง?

วิธีเดียวที่จะทราบถึงภาวะความดันโลหิตสูง คือการวัดระดับความดันโลหิตเท่านั้น การตรวจวัดที่นิยมกันทั่วไปคือการวัดความดันด้วย Stethoscope (เสต็ธโทสโคป) และเครื่องความดันรัดแขน (Blood Pressure Cuff) โดยเจ้าหน้าที่จะนำแผ่นวัดมาพันรัดรอบแขนของผู้ตรวจในท่านั่ง จากนั้นจะวัดความดันโดยใช้ เกจวัดความดัน (Pressure-measuring Gauge)

เนื่องจากความดันโลหิตจะไม่คงระดับตลอดวัน แพทย์จึงต้องทำการตรวจวัดความดัน 2-3 ครั้งเพื่อยืนยันผลการตรวจ ในบางครั้งแพทย์จะต้องทำการวัดความดันที่แขนทั้งสองข้างเพื่อเปรียบต่างระดับความดัน


การวัดค่าความดันสามารถแปลผลออกมาได้ 4 ประเภท

1.ความดันระดับปกติ ค่าความดันจะน้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากค่าความดันโลหิตสูงกว่าจำนวนดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

2. ความดันก่อนภาวะความดันโลหิตสูง (Prehypertension) คือ ค่าความดันซิสโทลิกที่อยู่ระหว่าง 120-139 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโทลิกที่อยู่ระหว่าง 80-89 มิลลิเมตรปรอท

3.ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 มีค่าความดันซิสโทลิกอยู่ระหว่าง 140-159 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโทลิกอยู่ระหว่าง 90-99 มิลลิเมตรปรอท

4.ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 มีค่าความดันซิสโทลิกเท่ากับหรือมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันไดแอสโทลิกเท่ากับหรือมากกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท

นอกจากนี้ยังมีภาวะความดันโลหิตสูงอีกประเภทหนึ่ง ที่มีค่าความดันซิสโทลิกสูงเพียงอย่างเดียว (Isolated Systolic Hypertension) ซึ่งระดับความดันซิสโทลิกจะขึ้นสูงแต่ความดันไดแอสโทลิกอยู่ในระดับปกติ ความดันโลหิตประเภทต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นผลการจำแนกจากประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป


การตรวจวัดแบบอื่นๆ ที่ควรตรวจมีอะไรบ้าง?

หากพบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์อาจต้องส่งตรวจอาการเพิ่มเติม เพื่อตรวจหาสัญญาณป่วยของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนี้

1. ตรวจปัสสาวะ

2. ตรวจเลือด

3. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

4. ตรวจค่าไขมัน cholesterol (คอเลสเทรอล)


การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง

เพื่อการแปลผลค่าความดันโลหิตที่แม่นยำขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้บันทึกค่าความดันโลหิตระหว่างอยู่ที่บ้าน หรือขณะทำงานลงในมอนิเตอร์วัดความดันโลหิต การกระทำดังกล่าว สามารถช่วยให้ตรวจสอบได้ว่าการรักษาดำเนินไปด้วยดี หรือว่าโรคนั้นเลวร้ายลงหรือไม่


ภาวะความดันโลหิตสูงในเด็ก

ปัจจุบันตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    โรคไตหรือโรคหัวใจ
    พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด การไม่ออกกำลังกาย
    เด็กที่มีเชื้อสายแอฟริกันอเมริกันและเม็กซิกันอเมริกัน มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
    เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้หญิง


ภาวะแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงจะสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น

    โรคหลอดเลือดในสมองตีบ/แตก
    โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
    หัวใจล้มเหลว
    ไตวาย
    โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
    โรคจอประสาทตาเสื่อม


ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่คุณจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งนั้นมีอยู่สูงมาก ซึ่งโรคชนิดนี้จะส่งผลต่อการทำให้สมองอยู่ในภาวะของการขาดเลือด หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกได้

ในส่วนของอาการที่จะคอยเตือนให้คุณรู้ตัวในขณะที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งจะมีดังนี้

    มักมีอาการชาหรืออาการอ่อนแรงในบริเวณแขนขา หรือบางครั้งจะเกิดขึ้นในบริเวณของใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
    มีอาการตามัว หรือมองภาพไม่ชัดเจนในข้างใดข้างหนึ่ง
    มีอาการพูดลำบากหรือบางครั้งพูดไม่ได้ ซึ่งถือเป็นอาการเดียวกับโรคอัมพาต



โรคความดันโลหิตสูง อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา แนวทางป้องกัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/247