หลายคนมีปัญหาช่องปากและฟัน เกี่ยวกับการขึ้นของฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฟันคุด ซึ่งฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก ซึ่งอาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย โดยฟันคุดนั้น จะต้องทำการผ่าออก เพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือเกิดปัญหาอื่นๆที่อาจจะตามมาได้ในอนาคต
แต่ถ้าหากไม่มีอาการเจ็บปวดทันตแพทย์อาจจะใช้วิธีการอื่นในการรักษา บางครั้งอาจจะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่การเข้ารับการผ่าตัดฟันคุดนั้น ก็มีข้อดีเช่นกัน เพราะเป็นการป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เนื่องจากอาจจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น การผ่าตัดฟันคุด ถือเป็นปัญหาที่เราไม่ควรมองข้าม ยิ่งปล่อยไว้นานๆ อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากและฟันได้นั่นเอง
สำหรับวันนี้ทางคลินิกเราจะมาพูดถึงข้อควรระวัง ภายหลังจากเข้ารับการผ่าตัดฟันคุด ซึ่งหลายคนอาจจะเคยผ่านการผ่าฟันคุดมาแล้ว ซึ่งต้องบอกเลยว่าทรมานสุดๆ เพราะหลังจากการผ่าฟันคุดจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก และต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากเป็นพิเศษด้วย การผ่าฟันคุด คือการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออก ซึ่งฟันนั้นฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้นเมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ หลังจากที่เราผ่าฟันคุดเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาควรที่จะดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน และต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะได้มีผลการรักษาที่ดีและยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการอักเสบ ติดเชื้อด้วย สำหรับข้อปฏิบัติ
ภายหลังจากการผ่าฟันคุด ต้องอธิบายก่อนว่า การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่ผู้เข้ารับการรักษาสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ หากในการผ่าฟันคุดมีแผลที่ต้องเย็บ ทันตแพทย์จะใช้ไหมละลายในการเย็บบริเวณแผล ไหมชนิดนี้จะละลายไปตามธรรมชาติพร้อม ๆ กับการสมานตัวของปากแผลภายในเวลาประมาณ 3-5 วัน โดยหลังจากการผ่าตัดแพทย์อาจใส่ผ้าก๊อซไว้ที่บริเวณปากแผลและให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงซึ่ง วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดและเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นภายใน จะช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรนำออกหากเลือดยังไม่หยุดไหล ซึ่งเมื่อผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ อาการก็จะดีขึ้น ซึ่งผู้ป่วยก็อาจจะเกิดอาการบวมภายในช่องปากและแก้ม เจ็บบริเวณขากรรไกร อาการชาที่ใบหน้า ซึ่งอาการเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้เข้ารับการรักษาทุกคนจะต้องเจอ
โดยระหว่างการพักฟื้น ในช่วงวันแรกๆ หลังจากการผ่าฟันคุดแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาอาจจะไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ แต่ก็ไม่ควรอดอาหารและควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วน เพราะจะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น โดยใน 1-2 วันแรกควรรับประทานอาหารนิ่มๆ หรืออาหารเหลว และควรหลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำและการรับประทานอาหารร้อนหรือรสจัดจะดีที่สุด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานแล้วอาจตกค้างอยู่ในซอกฟันที่ผ่าตัดก็ควรหลีกเลี่ยง และเมื่อแผลเริ่มสมานตัวแล้วจึงเริ่มสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้แต่ก็ควรเคี้ยวช้าๆ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน
ซึ่งการกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม หากใครสนใจหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก สามารถติดต่อหรือปรึกษากับทันตแพทย์จากทางคลินิกได้ เพราะทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของฟัน และนอกจากนี้ ทางคลินิก ยังมีโปรโมชั่นสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าฟันคุด โดนราคาเริ่มต้นที่ 3,000 บาท จากราคาปกติ 5,000 บาท เท่านั้น
จัดฟันบางนา: ข้อควรปฏิบัติ หลังจากผ่าฟันคุด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/