ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังใส่สายยางให้อาหารสายยางการดูแลผู้ป่วยด้วยวิธีนี้พบได้มากและบ่อย หลากหลายประเภทและหลากหลายการดูแล และไม่ได้ใช้เฉพาะการใช้เพื่อให้อาหารเท่านั้นยังมีอีกหลายวัตถุประสงค์ที่สามารถใช้สายยางเป็นตัวการช่วยแต่ในที่นี่เราจะกล่าวถึงการให้อาหาร และยังมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่ผู้ดูแผลหรือพยาบาลจะต้องระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถถึงแก่ชีวิตได้ การใส่สายยางให้อาหารเป็นการใช้สายยางชนิดหนึ่ง
โดยจะใช้วิธีใส่สายยางให้อาหารจากทางรูจมูกตรงสู่หลอดอาหารไปถึงกระเพาะอาหาร ซึ่งการใช้ในแต่ละวิธีของการให้สารอาหารทางสายยางให้อาหารขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆทั่วไป เพื่อลดแรงดันในประเพราะอาหารและลำไส้ส่วนต้นโดยระบายลมหรือของเหลวในกระเพาะอาหารออก มักจะต่อกับเครื่องดูดในผู้ป่วยที่ที่ลำไส้อืด ลำไส้อุดตัน ผ่าตัดทางหน้าท้อง ในรายที่พบว่ามีลมอยู่มากทำให้ผู้ป่วยอึดอัดท้องทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ช่วย และเพื่อล้างกระเพาะ ดูดสารพิษจากกระเพาะออก ในรายที่รับประทานยาเกินขนาดนาด หรือรับประทานสารเคมีที่สามารถเป็นพิษต่อร่างกาย เช่นผู้ป่วยที่รับประทานยามา 20 เม็ดจำเป็นต้องสวนล้างออกจากร่างกาย
เนื่องจากยาเกินขนาดเป็นพิษรุนแรงต่ออวัยวะร่างกาย รวมถึงการล้างด้วยสารละลายที่เย็น เช่น น้ำเกลือ ทำให้เส้นเลือดหดตัวทำให้เลือดในกระเพาะอาหารหยุดไหลได้ เช่นการที่ผู้ป่วยที่ดื่มสุราเป็นเวลาหลายปีและเลือดออกในกระเพาะอาหาร การสวนล้างกระเพาะอาหารด้วยความเย็นจึงเป็นตัวช่วยแรกที่จะส่วนล้างเอาเลือดที่ค้างในกระเพาะอาหารและความเย็นของสารละลายที่สวนล้างช่วยให้เลือดหยุดไหล ถัดมาคือการให้อาหาร น้ำและยา ในผู้ป่วยที่รับประทานไม่ได้ มีปัญหาการกลืน เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยอัมพาต รวมถึงผู้ป่วยที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และยังมีการเพิ่มแรงดัน หรือกดบริเวณที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
โดยการฉีดลมเข้าลูกโป่งของสายกระเพาะ และเพื่อนำของเหลวหรือสิ่งตกค้างไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ และข้อสูดท้ายเพื่ออบอุ่นร่างกายโดยการล้างกระเพาะด้วยน้ำอุ่นในร่างกายที่อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติในผู้ป่วยที่อุณหภูมิร่างกายต่ำจึงใช้วิธีนี้ช่วยในการเพิ่มอุณหภูมิภายในอวัยวะร่างกาย ทั้งนี้จุดประสงค์ในการใช้สายยางให้อาหารนั้นล้วนมีความเสี่ยงและสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งสิ้น เราจะมาอธิบายให้ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้
ภาวะแทรกซ้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและตลอดเวลา โดยอาจมีสาเหตุและไม่มีสาเหตุได้ โดยเริ่มต้นจากการที่สายยางให้อาหารเลื่อนหลุดจากกระเพาะอาหารทำให้ของเหลว น้ำย่อย อาหารในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหารเมื่อผู้ป่วยนอนลงอาจทำให้อาหารเข้าไปให้หลอดลมจนอาจก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ/ปอดบวมได้ และยังรวมไปถึงการให้อาหารเร็วเกินไปจากการให้อาหารผ่านสายยางให้อาหาร สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอาการท้องอืด อึดอัดในท้องได้ และอุณหภูมิของอาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไปอาจทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารทำให้เกิดอาการปวดท้อง จุก เสียดท้องได้เช่นกัน ทั้งนี้ยังอาหารท้องผูก ผู้ที่ได้รับอาหารทางสายยางให้อาหารมักได้รับอาหารที่มีใยอาหารไม่เพียงพอจึงมีโอกาสเกิดท้องผูกได้ง่าย
นอกจากนี้ยังมีท้องเสียที่อาจเกิดจากอาหารที่ได้รับเข้าไปทางสายฯอาจไม่สามารถถูกย่อยและหรือถูกดูดซึมได้หรืออาจเกิดจากอาหารบูดเน่าจากาอาหารที่ได้รับการเตรียมมาไม่ดีหรือเก็บไม่มีประสิทธิภาพ มีการปนเปื้อนก่อนจะนำมาให้ผู้ป่วย โดยทั่วไปอาหารที่ให้ทางสายให้อาหารจะเป็นอาหารปั่น ควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง อาหารที่เตรียมเสร็จแล้วแต่ยังไม่ถึงมื้ออาหารที่จะให้ครั้งต่อไป ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนที่จะให้อาหารในมื้อนั้น ๆ
การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆนั้นสามารถป้องกันได้ในหลายกรณี ซึ่งผู้ดูแลหรือพยาบาลต้องหมั่นตรวจสอบเสมอโดยเริ่มต้นจากตรวจสอบสายให้อาหารว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนให้อาหารทุกครั้งเสมอ เพราะหากสายยางให้อาหารไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ควร การให้อาหารผ่านสายยางให้อาหารอาจจะทำให้อาหารผ่านเข้าสู้ปอดหรือรั่วเข้าทรวงอกได้ หรือแม้แต่ขณะให้อาหาร ควรให้อาหารไหลไปอย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยงการใช้แรงดันกระบอกให้อาหารให้มากที่สุดและควรอุ่นอาหารก่อนการให้อาหารจะช่วยลดอาการแน่นอึดอัดท้องหรือท้องเสีย
นอกจากนี้การให้อาหารที่มีใยอาหารสูงพร้อมกับการให้น้ำระหว่างมื้ออาหารอย่างเพียงพอเช่นกันเพื่อป้องกันการท้องอืด ทางเรายังอยากให้ผู้ป่วยทุกคนปลอดภัยในการให้อาหารผ่านสายยางให้อาหาร ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ โดยเรามีทีมพัฒนาอาหารเหลวที่จะได้รับสารอาหารที่ตรงกับโรคเพื่อความต้องการของร่างกายที่ทั้งปลอดภัยและสะอาด