การป้องกันโรคความดันสูง ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคความดันสูงเรื้อรังอาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายของผู้ป่วยเกิดความเสียหายจนเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
เมื่อหลอดเลือดแดงในสมองเกิดการอุดตัน ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารไปสู่สมองได้ ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองตายจากการขาดออกซิเจน การควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ที่ถูกสั่งการจากสมองส่วนที่เสียหายเกิดความผิดปกติด้วย และเมื่อความดันในหลอดเลือดมากขึ้น อาจทำให้หลอดเลือดในสมองแตกจนนำไปสู่การเสียชีวิต
หัวใจขาดเลือด (Heart attack)
ความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหัวใจแข็งและหนาตัวขึ้น ต่อมาอาจผนังหลอดเลือดหัวใจอาจฉีกขาดและอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
หัวใจวาย (Heart failure)
เมื่อหัวใจมีการสูบฉีดเลือดเพื่อต้านกับแรงดันในหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูงขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักจนมีความหนามากขึ้นและหัวใจโตขึ้น การสูบฉีดเลือดจึงทำได้ยากขึ้น ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้เพียงพอ และทำให้หัวใจวาย
โรคไต
ความดันโลหิตสูงอาจทำให้หลอดเลือดในไตตีบแคบหรือเสียหายได้ ไม่สามารถกรองเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไตได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคไตและไตวายได้
โรคที่จอตาจากความดันสูง
เมื่อความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดในดวงตาแตกหรือมีเลือดออกได้ ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสายตาหรือตาบอด
หลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysm)
ความดันสูงอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดความอ่อนแอ มีการโป่ง พอง นูนขึ้น หรือมีเลือดออกมาก แต่หากเกิดการฉีดขาดอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ภาวะเมทาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome)
กลุ่มอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมของไขมันมากผิดปกติ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ง่าย รอบเอวเพิ่มอย่างรวดเร็ว ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง แต่มีไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำ ระดับอินซูลินในร่างกายสูง ซึ่งสภาวะเหล่านี้ล้วนนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง
ปัญหาด้านความจำและระบบการคิด
ระดับความดันโลหิตสูงมากขึ้นจะส่งผลต่อความสามารถในการคิด ระบบความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ หากหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในระยะยาวได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disease: PAD) โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) ในเพศชาย และความต้องการทางเพศลดลงในเพศหญิง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันสูง ความดันโลหิตสูง (Hypertension) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/