ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะฟันแบบไหน ที่เด็กควรจัดฟันเด็ก?  (อ่าน 758 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 464
  • รับโปรโมทเว็บ ราคาประหยัด
    • ดูรายละเอียด
ลักษณะฟันแบบไหน ที่เด็กควรจัดฟันเด็ก?
« เมื่อ: วันที่ 5 ธันวาคม 2023, 20:57:53 น. »
การหาหมอฟันในเด็กไม่ได้จำเป็นเพียงในส่วนของการเช็กความแข็งแรงของฟันเด็กๆ ทุกซี่อย่างเดียว แต่ยังจำเป็นในแง่ของการรักษาความผิดปกติของฟัน พัฒนาการของเด็ก การปรับการเจริญเติบโตของขากรรไกรให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

โดยการจัดฟันที่ช่วยปรับการเจริญเติบโตของเด็กจะทำได้เฉพาะช่วงวัยที่ยังมีการเจริญเติบโตเท่านั้น รู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี แนะนำมาให้ทันเวลาตั้งแต่เด็กอายุยังน้อย ก่อนจะสายเกินแก้ รวมไปถึงพ่อแม่ที่อยากให้ลูกจัดฟันตอนเด็ก

เพราะถึงแม้ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่ขึ้นมาเพียงชั่วคราวแล้วก็หลุดออกไป แต่ก็ยังมีโอกาสที่ฟันประเภทนี้จะเกิดปัญหาในช่องปากแบบระยะยาวให้กับเด็กๆ ได้ และอาจส่งผลต่อการงอกขึ้นของฟันแท้ในภายหลังด้วย

ในบทความนี้ จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับปัญหาฟันในเด็กๆ ที่พบได้บ่อยและควรรีบพากลับไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว รวมถึงประโยชน์ของกระบวนการจัดฟันเด็กที่ช่วยแก้ปัญหาในช่องปากให้กับเด็กๆ ได้หลายส่วน
ปัญหาทางช่องปากที่มักพบได้บ่อยในเด็ก

แม้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองแทบทุกท่านจะพยายามกวดขันให้เด็กๆ รักษาสุขภาพฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ แต่ก็ยังมีกลุ่มปัญหาทางช่องปากบางอย่างที่ยังพบได้บ่อยในฟันของเด็กๆ เช่น

-    โรคฟันผุ (Tooth Decay) มีสาเหตุหลักมาจากเนื้อฟันที่ไปสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในจุลินทรีย์ของอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาลซ้ำๆ จนเกิดการผลิตกรดที่ไปกัดกร่อนแร่ธาตุบนเนื้อฟัน ทำให้เด็กมีอาการเสียวฟันระหว่างกินอาหาร ร่วมกับมีอาการปวดฟันในบางเวลา หากลองส่องกระจกลงไปยังฟันซี่ที่ผุจะเห็นเป็นคราบหรือรูสีดำคล้ำอยู่บนเนื้อฟัน

-    โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) มีสาเหตุหลักมาจากสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่สะอาดเพียงพอ ส่งผลให้คราบแบคทีเรียและสิ่งสกปรกที่ยังเกาะอยู่ตามเนื้อฟันและซอกฟันสร้างการอักเสบต่อเหงือก จนเกิดเสียวฟัน เหงือกบวม หรือมีรอยแดงเข้มขึ้นกว่าปกติ หากอาการรุนแรงหรือไม่รีบรักษาก็อาจต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งจนต้องใส่ฟันปลอมแทนได้

-    ร้อนใน (Mouth ulcer) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดแผลบนเนื้อเยื่อภายในช่องปาก โดยอาจเกิดเพียงตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งก็ได้ แต่มักพบได้บ่อยบริเวณริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม ข้างลิ้น และปลายลิ้น มีปัจจัยทำให้เกิดหลายประการ เช่น การเคี้ยวอาหารที่มีเนื้อแข็งหรือมีปลายแหลม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การกินอาหารที่เป็นกรดสูง ภาวะความเครียด การจัดฟันซึ่งอุปกรณ์อาจไปเสียดสีเหงือกจนเกิดแผล

-    นอนกัดฟัน (Bruxism) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เด็กเผลอออกแรงขบและกดเคี้ยวฟันอย่างรุนแรงโดยที่ไม่รู้ตัว มีปัจจัยที่ทำให้เกิดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเครียด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะผีอำหรือปัญหาไม่สามารถขยับร่างกายได้เมื่อรู้สึกตัวตื่น รวมถึงเกิดได้จากพันธุกรรม หากเด็กมีพฤติกรรมนี้ในระยะยาวและไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข การนอนกัดฟันก็สามารถทำให้ฟันที่ถูกบดกัดหากันบ่อยๆ สึก บิ่น แตก ร้าว หรือมีขนาดสั้นลงได้

-    มีกลิ่นปาก (Bad Breath) โดยปัญหากลิ่นปากที่เกิดขึ้นในเด็กมักเกิดจากคราบน้ำนม หรือเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน จนทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียที่มีกลิ่นออกมา รวมถึงการมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหวัด ซึ่งทำให้เด็กเกิดเสมหะปะปนอยู่ในลำคอ และทำให้เกิดกลิ่นปากแรงขึ้น หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ทำให้เด็กต้องเรอ หรือมีกลิ่นอาหารปะปนออกมาระหว่างหายใจหรือพูด

-    การนอนดูดนิ้วโป้ง (Thumb-Sucking) ซึ่งโดยปกติเด็กๆ จะมีพฤติกรรมนี้ตั้งแต่วัยแบเบาะ แต่ก็จะค่อยๆ ลดพฤติกรรมลงเมื่อเด็กอายุได้ 2-4 ขวบ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเด็กบางคนที่อายุมากกว่า 4-5 ขวบและยังติดต้องนอนดูดนิ้วโป้งอยู่ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ เช่น ฟันสบกันผิดปกติ โครงหน้าไม่สมส่วนกัน เพดานปากผิดปกติ มีปัญหาด้านการออกเสียงและการพูด


-    นอนกรน (Snoring) ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ แต่ก็ยังพบได้ในเด็กบางคนเช่นกัน โดยอาการนอนกรนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพเด็กได้หลายอย่าง เช่น ต่อมทอนซิลโต กล้ามเนื้อบางส่วนอ่อนแรง ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ กระดูกกรามเล็ก ความเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ผู้ปกครองหลายท่านอาจมองว่า 7 ปัญหาในช่องปากเหล่านี้คงต้องพึ่งพาศาสตร์การแพทย์สำหรับเด็กในการรักษาอาการเหล่านี้เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การจัดฟันก็จัดเป็นอีกแนวทางการรักษาปัญหาในช่องปากของเด็กได้เช่นกัน


ลักษณะฟันแบบไหน ที่เด็กควรจัดฟัน?

จากปัญหาช่องปากของเด็กที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพเหงือกและฟันหลายด้าน รวมถึงด้านการจัดเรียงของซี่ฟันที่อาจส่งผลระยะยาวไปกระทบการขึ้นของฟันแท้

โดยตัวอย่างลักษณะฟันของเด็กที่ควรรับการจัดฟันเพื่อปรับแก้ให้ดีขึ้น ได้แก่

    ฟันน้ำนมหลุดเร็วเกินไปหรือหลุดช้าเกินไป
    ฟันที่เรียงตัวไม่เหมาะสมจนเกิดปัญหาด้านการเคี้ยวหรือกัดอาหาร
    ฟันที่ทำให้เกิดปัญหาด้านการออกเสียงหรือการพูด
    ปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันขึ้นผิดไปจากตำแหน่งที่ควรขึ้น
    ปัญหาฟันยื่น
    ตำแหน่งซี่ฟันทำให้เด็กเผลอกัดเหงือกหรือกัดลิ้นได้ง่าย
    ปัญหาขากรรไกรดัง ขากรรไกรยื่น
    โครงสร้างใบหน้าของเด็กไม่สมส่วน
    เด็กมีพฤติกรรมชอบนอนกัดฟัน



ลักษณะฟันแบบไหน ที่เด็กควรจัดฟันเด็ก? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/การจัดฟันเด็ก/