ฟันหลอเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งสร้างความกังวลให้แก่ตัวเด็กเองและคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่าควรรักษาอย่างไรดี และมีวิธีดูแลไม่ให้ฟันหลอได้มั้ย วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝากครับ
เนื่องจากฟันน้ำนมของเด็กแข็งแรงน้อยกว่าฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมาถาวร จึงมีโอกาสหลุดออกง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกไม่มากก็ตาม ฟันหลอส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณฟันหน้าด้านบนซึ่งเป็นฟันที่สัมผัสกับนมมากกว่าส่วนอื่น จึงเกิดคราบนมเกาะติดฟันง่ายและน้ำตาลในนมถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปากและทำให้เกิดฟันผุจนฟันสึกหรอง่าย นอกจากนี้ฟันหน้าซี่บนยังเป็นส่วนที่สัมผัสง่ายกว่าฟันซี่อื่นจึงมีความเสี่ยงที่จะหลุดมากกว่าฟันซี่อื่นนั่นเอง ซึ่งฟันหลอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันหลอ
1. ฟันหลุดเองตามช่วงวัย
ฟันน้ำนมเป็นฟันที่ขึ้นมาชุดแรกก่อนที่ฟันแท้ซึ่งเป็นฟันชุดที่สองจะขึ้นมาแทนที่ ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่ แบ่งเป็นฟันบน 16 ซี่ และฟันล่าง 16 ซี่ มีลักษณะแตกต่างกันบ้างตามรูปแบบการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ฟันหน้าทำหน้าที่ตัดอาหาร, ฟันเขี้ยวใช้ฉีกอาหารออกจากกัน ฯลฯ ฟันแท้ซี่แรกส่วนใหญ่ทั้งซี่บน-ล่างจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-7 ปี ขึ้นไป หากลูกมีแนวโน้มว่าฟันหลุดในช่วงก่อนหน้านี้ให้รู้ไว้เลยว่าเตรียมฟันหลอรอฟันแท้ขึ้นแน่นอน
2. ได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องปากโดยตรง
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าฟันน้ำนมไม่แข็งแรงพอที่จะรับแรงกระแทกได้ หากเด็กได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องปากจนฟันหลุดหรือโยก หมอฟันเด็กจะแนะนำให้ใช้กาวทันตกรรมติดฟันบางส่วนที่หลุดออกมาให้กลับเข้าไปใช้งานได้ดังเดิม แต่หากกรณีที่คุณหมอวินิจฉัยแล้วว่าไม่ควรเก็บฟันซี่ที่หักไว้ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเองหากเด็กกลืนลงคอ คุณหมอจะทำการถอนฟันซี่นั้นออกเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และรักษาฟันที่ซี่ด้วยวิธีอื่นต่อไป
3. เด็กมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ฟันหลอ
หากลูกใช้ลิ้นดุนฟัน หรือนอนกัดฟันทั้งแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จนเคลือบฟันไม่แข็งแรง อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันในอนาคตจนต้องถอนในที่สุด
4. การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ถูกวิธี
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ฟันน้ำนมสึกหรอง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงวัยเด็กซึ่งเป็นช่วงที่ละเลยการทำความสะอาดช่องปาก เพราะเด็กหลายคนอยากทำกิจกรรมสนุกๆ มากกว่าการยืนแปรงฟันเฉยๆ ส่วนใหญ่ที่พบปัญหาคือเด็กแปรงฟันน้อยกว่าวันละ 2 ครั้ง และเด็กอีกหลายคนไม่แปรงฟันใน 1 วันเลยก็มีเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแปรงฟันผิดวิธี เช่น แปรงฟันแรงเกินไป, แปรงฟันเร็วเกินไป, แปรงฟันนานเกินไป, แปรงแค่ฟันหน้า ไม่ยอมแปรงข้างใน แปรงฟันแต่ไม่ยอมแปรงลิ้น หรือแม้แต่ใช้น้ำยาบ้วนปากแทนแปรงสีฟัน+ยาสีฟัน จนทำให้แบคทีเรียในช่องปากสะสมและทำปฏิกิริยากับเศษอาหารตามซอกฟันจนทำให้ฟันสึกกร่อนลง
5. โรคปริทันต์
หรือที่ใครหลายรู้จักกันในชื่อของโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่เพียงพอ ทำให้แบคทีเรียสร้างคราบพลัคซึ่งระคายเคืองต่อเหงือก ถ้าปล่อยไว้นานวันเข้าอาจทำให้เด็กเป็นโรคปริทันต์ลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน อาจเกิดการติดเชื้อร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย
ผลเสียที่ปล่อยให้เด็กฟันหลอ
เมื่อเด็กยิ้มออกมาแล้วเห็นฟันหลอ อาจถูกล้อเลียนจนสูญเสียความมั่นใจและวิตกกังวลที่จะยิ้มออกมา
เนื่องจากฟันของคนเราจะเคลื่อนที่ตลอดเวลา หากมีช่องว่างระหว่างฟันซี่ข้างๆ จากฟันหลอ อาจทำให้ฟันรอบข้างเอียงซ้อนกันเป็นฟันเก ฟันซ้อนตามมา
เสียค่าใช้จ่ายในการทำฟันปลอมเพื่ออุดช่องว่างที่หายไปจากฟันหลอ ทั้งนี้หากเป็นฟันน้ำนมที่หลุดออกไปอาจต้องขอคำแนะนำจากหมอฟันเด็กว่าควรรักษาด้วยวิธีไหนถึงจะเหมาะกับเด็กที่สุด เพราะต้องคำนึงถึงฟันแท้ที่รองอกขึ้นมาด้วย
ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารน้อยลงเนื่องจากมีฟันไม่มากพอในการบดอาหาร
รักษาฟันหลอให้ลูกได้ยังไงบ้าง
1. อุดฟัน
คุณหมอจะรักษาด้วยการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันมาอุดบริเวณช่องว่างของฟันซี่ที่หลอ แล้วฉายแสงเพื่อให้ฟันมีสีตามธรรมชาติมากที่สุด
2. ครอบฟัน
หากรักษาด้วยการครอบฟัน คุณหมอจะใช้เซรามิกหรือโลหะสำหรับครอบฟันเพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานตามปกติ
3. ทำฟันปลอม
คุณหมอจะออกแบบฟันปลอมตามลักษณะช่องปากของเด็ก แล้วใช้ถาดพิมพ์ปากให้เด็กกัดเพื่อทำพิมพ์ปาก จากนั้นร่วมกันตัดสินใจเลือกสีฟันพร้อมกันกับคุณพ่อคุณแม่ผ่านเครื่องจำลองขากรรไกร ให้เด็กลองถอดแผ่นฐานฟันปลอมชั่วคราวโดยใช้ฟันซี่ปลอมของผู้ใหญ่ในการกรอให้เหมาะกับช่องปากเด็กให้มากที่สุด และนำฟันซี่นั้นส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้ใส่ให้เด็ก
ป้องกันฟันหลอได้ด้วยตัวเอง
ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังมื้ออาหาร 30 นาที
ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่ด้วย เพื่อให้ประสิทธิภาพของฟลูออไรด์คงอยู่ในช่องปากนานขึ้น
งดทานอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ หลังการแปรงฟัน ยกเว้นน้ำเปล่า
หากเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการปะทะ แนะนำให้ใส่เฝือกสบฟันป้องกันทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงและรักษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อฟันหลุดของลูกน้อย เช่น ให้ลูกใส่เฝือกสบฟันขณะนอนหลับหากลูกมีภาวะนอนกัดฟัน
พบหมอฟันเด็กเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือมาพบทันทีเมื่อมีปัญหาในช่องปาก
จัดฟันเด็ก: อย่าปล่อยให้เด็กฟันหลอ จนสร้างแผลใจให้ลูกน้อย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/การจัดฟันเด็ก/