ที่จอดรถ อีกหนึ่งโครงสร้างใหญ่รองจากโครงสร้างบ้าน การจะสร้างบ้านพร้อมที่จอดรถ บริษัทรับสร้างบ้านต้องวางแผนออกแบบทั้งตำแหน่ง ขนาด การรองรับน้ำหนัก ให้เหมาะสมตามหลักวิศวกรรมเพื่อความพร้อมในการใช้งาน วันนี้มี 3 แนวทางการสร้างบ้านพร้อมที่จอดรถเพื่อให้มีระเบียบและไม่ขวางทางเข้าออกมาฝากกัน
3 แนวทางการสร้างบ้านพร้อมที่จอดรถให้มีระเบียบไม่ขวางทางเข้าออก
1. ทำความเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับการสร้างตามกฎหมาย
ทำความเข้าใจกันก่อนว่าการสร้างบ้านนั้น มีกฎระเบียบข้อบังคับ เรียกว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นส่วนตัวไม่เกิดการล่วงล้ำกรรมสิทธิ์ซึ่งกันและกัน โดยใจความหลักคือระยะร่นในการสร้างที่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่จอดรถ ดังนี้
- การปลูกสร้างบ้านพักอาศัยบนที่ดินนั้น ตามกฎหมายกำหนดให้เปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์โดย 70 เปอร์เซ็นต์ใช้เพื่อการสร้างบ้านพักอาศัย (ที่ว่าง หมายถึง พื้นที่อันปราศจากสิ่งปกคลุม ซึ่งอาจจัดให้เป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำบ่อพักน้ำเสีย ที่พักขยะมูลฝอย )
- ทาวน์เฮาส์ต้องเว้นพื้นที่ว่างทางด้านหลังกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ด้านหน้า 3 เมตร และให้อาคารพาณิชย์เว้นพื้นที่ว่างทางด้านหลังกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร จากแนวเขตที่ดิน
- สำหรับระยะห่างชายคาและกันสาด ทั้งสองอย่างจะต้องห่างจากแนวเขตพื้นที่บ้านไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร
- ผนังอาคารที่ทึบจะต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร ยกเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงแล้วเท่านั้น
ในรายละเอียดข้อบังคับตาม พ.ร.บ. อาจเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดต้องอาศัยความมืออาชีพจากบริษัทรับสร้างบ้านในการออกแบบเพื่อไม่ให้ผิดข้อบังคับ แต่ในส่วนของเจ้าของบ้านที่สามารถใส่รายละเอียดได้เองคือ ประเภทและลักษณะการสร้างของโรงจอดรถ ดังนี้
- โครงสร้างร่วมกับบ้าน เป็นการออกแบบและก่อสร้างโดยใช้ฐานราก คาน เดียวกัน แต่มีการคำนวณบริเวณที่รับน้ำหนักเพิ่มเติม และเสริมพื้นที่บริเวณนั้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือหินแกรนิต การสร้างโครงสร้างแบบนี้จะประหยัดเวลาในการก่อสร้างคราวเดียวกัน แต่มีข้อเสียที่ควรรู้คือเมื่อใช้งานไปเป็นเวลานานหากเกิดการทรุดตัวของพื้นอาจจะทำให้เกิดการดึงรั้งกับโครงสร้างหลักได้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มักจะถูกออกแบบคือพื้นที่ด้านหน้าข้างซ้ายหรือขวา ตามระยะร่นที่ พ.ร.บ.ได้กำหนด
- โครงสร้างแยก เป็นการสร้างที่จอดรถ ที่อาจจะสร้างพร้อมกับบ้าน หรือ สร้างภายหลัง ในโครงสร้างแบบนี้มีข้อดีคือ หากมีการทรุดตัวจะไม่มีการดึงรั้งโครงสร้างแต่ต้องคำนวณวัสดุก่อสร้าง งบประมาณใหม่ ลงเสาใหม่ การสร้างโรงจอดรถแยกเป็นโครงสร้างที่อิสระตามตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งจะกำหนดขนาดใหญ่เล็กได้ตามจำนวนรถ แต่ควรคำนวณการรับน้ำหนักโดยวิศวกรหรือบริษัทรับสร้างบ้านที่เชี่ยวชาญ
2. คำนวณพื้นที่ลานจอดรถ
หลักการคำนวณ คือ รถ 1 คัน ควรเผื่อขนาด 2.40 x 5.00 เมตร และมีพื้นที่ด้านข้างสำหรับเปิดปิดอย่างน้อย 0.70 เมตร และด้านหน้า 0.40 เมตร ความสูงอย่างน้อย 2.50 เมตร หากมีการคำนวณจากจำนวนรถในเบื้องต้น ก็จะสามารถมองหาตำแหน่งก่อสร้างได้ง่าย ซึ่งแน่นอนว่าหากมีการสังสรรค์ในวันหยุดจำนวนรถยนต์ที่จะเข้าจอดในบริเวณบ้านอาจจะไม่เพียงพอ
ดังนั้น ควรระมัดระวังการจอดในที่สาธารณะ เพราะการจอดรถขวางทางเข้าออกนั้นยังถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ระบุว่าผู้ใดกระทำการต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำการให้เดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือการกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำต่อหน้าที่สาธารณะ หรือต่อหน้าธารกำนัลต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ด้วย
3. รู้ขนาดมาตรฐานทางลาด
นอกจากตำแหน่งโรงรถที่ควรก่อสร้างตามระยะร่นแล้ว ควรมีทางลาดที่ได้มาตรฐานด้วย เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องการการเข้า-ออก ที่รวดเร็ว ทางลาดที่ได้มาตรฐานจะไม่สร้างปัญหาอุบัติเหตุซ้ำซ้อน
มาตรฐานทางลาดที่เหมาะสมคือ ควรมีสัดส่วนความชันทางลาดไม่เกิน 1:8 เช่น หากมีความสูงของพื้นต่างจากถนน 30 เซนติเมตร ต้องมีความยาวของทางลาดอยู่ที่ 2.40 เมตร หรือหากเป็นรถยกสูง สามารถลดหย่อนระยะลงมาที่อัตราส่วน 1:7 ได้ ทั้งนี้ทางลาดที่เหมาะสมจะเป็นการระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังภายในโรงรถได้ด้วย
แนวทางการสร้างบ้านพร้อมที่จอดรถ จะออกมาได้ตามสไตล์บ้านในฝันมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยต่าง ๆ ทั้งพื้นที่ ระยะร่น จำนวนรถ หรือลักษณะโครงสร้างร่วมหรือแยก
ขายบ้านโคราช: แนวทางการสร้างบ้านพร้อมที่จอดรถให้มีระเบียบไม่ขวางทางเข้าออก อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/